กลไกใกล้ตัว

บทความนี้เขียนโดย
นาย อนาวิล จีนสุกแสง  นาย กฤติกร สันกริชดุษฎี  และ นางสาว ภีรญาณ์ นาคจรูญศรี จากโรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี 
นางสาว อ้อมหทัย สกุลพงค์ชัย และ นางสาว ชลิตา บุญโสดากรณ์ จากโรงเรียน เทพศิรินทร์ นนทบุรี 

            
      ถ้าเราลองสังเกตสิ่งของเครื่องใช้ใกล้ตัวเราในทุกวันนี้ ที่สามารถทำงานได้หรือสามารถขับเคลื่อนได้จะต้องมีกลไกช่วยในการทำงานหรือเรียกว่า Machanism กลไกนั้นก็คือ สิ่งที่ทำให้ระบบเกิดการเคลื่อนที่ โดยเครื่องเครื่องใช้แต่ละชนิดจะมีกลไกที่แตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ ซึ่งในชีวิตประจำวันของเรานั้นเราสามารถพบระบบกลไกต่างๆได้มากมาย เช่น

กลไกการทำงานของพัดลม จะมีกลไกดังนี้  เมื่อกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบและกดปุ่มเลือกระดับความเร็วของแรงลมตามความต้องการ กระแสไฟฟ้าก็จะเข้าสู่มอเตอร์ ทำให้แกนกลางของมอเตอร์หมุนและทำงาน  โดยใบพัดที่อยู่ตามแกนจะหมุนและเกิดลม พัดลมจะมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล


            กลไกการทำงานของเครื่องสุขภัณฑ์(ชักโครก) โดยกลไกของชักโครกจะประกอบด้วย มือโยกภายในโถชักโครกที่หมุนร่วมกับคานโยกโดยมีก้านยกเกี่ยวติดกับคานโยก และมีปลายอีกข้างยื่นลงไปข้างล่างและทำการดัดปลายเป็นห่วงเล็กๆ เพื่อใช้สวมและรูดไปตามก้านยกอีกก้านหนึ่ง โดยการยกข้างล่างจะทำการยกขึ้นและยกลงไปตามปลอกที่มีลูกยางติดปลายล่าง เพื่อทำหน้าที่เปิดปิดลิ้นชักโครง เพื่อทำให้เกิดการทำงาน

    



กลไกเครื่องปรับอากาศ จะใช้ระบบการทำความเย็นที่เรากำลังกล่าวถึงคือระบบอัดไอ(Vapor-Compression Cycle) ซึ่งมีหลักการทำงานง่ายๆคือ การทำให้สารทำความเย็น (น้ำยา) ไหลวนไปตามระบบ โดยผ่านส่วนประกอบหลักทั้ง คือ คอมเพรสเซอร์  คอยล์ร้อน คอยล์เย็น อุปกรณ์ลดความดัน

            ยังไม่รวมถึงกลไกที่อยู่บนจักรยาน มอเตอร์ไซต์ รถยนต์  ของเล่น และอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นจากการสังเกตเครื่องมือเครื่องใช้ภายในบ้านที่อยู่ใกล้ตัวของเรา จะมีกลไกอยู่แทบทั้งสิน บางระบบจะต้องใช้พลังงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้า น้ำมัน ลม ฯลฯ เพื่อทำให้เกิดการทำงานและขับเคลื่อน บางอย่างไม่จำเป็น เมื่อทราบว่ากลไกใกล้ตัวสำคัญอย่างนี้แล้ว เด็กๆอย่างมาเรียนรู้เครื่องยนต์กลไกกันเถอะ

ความคิดเห็น

  1. แย่มากคนับภาพไม่ชัดอ่านไม่ออก ไม่รู้เรื่องเลยครับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น